นิพพานคือเป้าหมายของชีวิต
ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่
อรหัตตภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๔ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยอภิญญาของตนเอง เข้าถึงทิฏฐธรรมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้คือสมณะที่ ๔ ในพระพุทธศาสนา
ภูมิของพระอนาคามี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ มีความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่าง เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยบุคคลนี้คือ สมณะที่ ๓ ในพุทธศาสนา
อานิสงส์ถวายอาหารบิณฑบาต
ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้นั้น ได้ไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เป็นมเหสีของจอมเทพ ๑,๐๐๐ องค์ เมื่อกลับลงมาเกิด ก็ได้เป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๑,๐๐๐ ชาติ ต่อจากนั้นก็ได้เกิดเป็นมเหสีของพระราชาประเทศราช นับภพนับชาติไม่ถ้วน โดยพระนางไม่รู้จักทุคติเลย นี้ก็เป็นบุญพิเศษที่เกิดจากการถวายบิณฑบาตทุกวัน
อนาคามีโลกุตรภูมิ ภูมิของผู้ที่จะไม่กลับมาเกิดในกามภพอีก
ผู้ที่บรรลุธรรมเข้าถึงสภาวะความเป็นพระอนาคามีแล้ว หลังจากละโลกแล้ว จะบังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส อันเป็นที่บังเกิดของบุคคลผู้เข้าถึงภาวะความเป็นพระอนาคามี
โลกุตรภูมิ ภูมิที่พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
โลกุตรภูมิ คือ ภูมิหรือชั้นที่พ้นจากภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ หมายถึง ระดับจิตของพระอริยบุคคลที่พ้นจากกิเลสโดยเด็ดขาดตามลำดับ และรวมถึงอมตมหานิพพานด้วย
จักษุของพระพุทธเจ้า
มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข ความอบอุ่นใจ และความปลอดภัยในชีวิต จึงพยายามเสาะแสวงหาที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง แต่หลายชีวิตก็ยังไม่รู้ว่า ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงนั้นคือสิ่งใด อยู่ที่ตรงไหน จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีการใด จึงแสวงหากันวุ่นวาย และเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน แต่ถ้าทุกคนในโลกได้รู้จักที่พึ่งที่ระลึก
เจริญพุทธานุสติ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ พระองค์นั้น
พระพุทธคุณ ตอน ผู้รู้แจ้งโลก
บุคคลใดมีความเพียร ข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุราชได้แล้ว ได้ถูกต้องธรรมอันเป็นที่สิ้นการเกิด บุคคลเช่นนั้นย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้มีปัญญาดี เป็นมุนี ผู้หมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสชมพระเถระทุกรูปว่า วาจาของพระเถระทุกรูปต่างเป็นสุภาษิตเหมือนกัน เพราะทุกรูปปฏิบัติได้ตามปฏิปทาที่ตนเองพูด จากนั้นพระองค์ทรงพยากรณ์ว่า...“ภิกษุในศาสนานี้กลับจากบิณฑบาต ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ตราบนั้นเราจะไม่ลุกจากที่เลย ดูก่อนสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงดงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล”